วันจันทร์ที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2559

อุปกรณ์ในเครื่องปรับอากาศ

 มอเตอร์ไฟฟ้ากระแสสลับคาปาซิเตอร์มอเตอร์(Capacitor motor)
               คาปาซิสตอร์เตอร์เป็นมอเตอร์ไฟฟ้ากระแสสลับ 1 เฟส ที่มีลักษณะคล้ายสปลิทเฟสมอเตอร์มากต่างกันตรงที่มีคาปาซิเตอร์เพิ่มขึ้นมา ทำให้มอเตอร์แบบนี้มีคุณสมบัติพิเศษกว่าสปลิทเฟสมอเตอร์ คือมีแรงบิดขณะสตาร์ทสูงใช้กระแสขณะสตาร์ทน้อยมอเตอร์ชนิดนี้มีขนาดตั้งแต่ 1/20  แรงม้าถึง 10  แรงม้า มอเตอร์นี้นิยมใช้งานเกี่ยวกับ ปั๊มนํ้า เครื่องอัดลม ตู้แช่ ตู้เย็น ฯลฯ
        ส่วนประกอบของคาปาซิเตอร์มอเตอร์โครงสร้างของคาปาซิเตอร์มอเตอร์ มีส่วนประกอบส่วนใหญ่เหมือนกับแบบสปลิทเฟส
เกือบทุกอย่าง คือ
     1. โรเตอร์เป็นแบบกรงกระรอก
     2. สเตเตอร์ประกอบด้วยขดลวด 2 ชุด คือ ชุดสตาร์ทและชุดรัน
     3. ฝาปิดหัวท้ายประกอบด้วย ปลอกทองเหลือง ( Bush ) หรือตลับลูกปืน ( Ball bearing ) สำหรับรองรับเพลา
     4. คาปาซิเตอร์หรือคอนเดนเซอร์ ( Capacitor or Condenser
 
1. โรเตอร์เป็นแบบกรงกระรอก
 
2. สเตเตอร์ประกอบด้วยขดลวด2 ชุด คือ ชุดสตาร์ทและชุดรัน
 
 3. ฝาปิดหัวท้ายประกอบด้วย ปลอกทองเหลือง( Bush )
หรือตลับลูกปืน( Ball bearing )  สำหรับรองรับเพลา

     
4. คาปาซิเตอร์หรือคอนเดนเซอร์ ( Capacitor or Condenser)
    ที่ใช้กับมอเตอร์แบบเฟสเดียวมี 3 ชนิดคือ
1. แบบกระดาษหรือPaper capasitor
2. แบบเติมนํ้ามันหรือ Oil -filled capasitor
3. แบบนํ้ายาไฟฟ้าหรือElectrolytic capasitor

     ชนิดของคาปาซิเตอร์มอเตอร์ 

     คาปาซิเตอร์มอเตอร์แบ่งออกเป็น 3 แบบคือ

     1.คาปาซิเตอร์สตาร์ทมอเตอร์ ( Capacitor start motor )
     2..คาปาซิเตอร์รันมอเตอร์ ( Capacitor run motor )
     3.คาปาซิเตอร์สตาร์ทและรันมอเตอร์ ( Capacitor start and run motor )

     หลักการทำงานของคาปาซิเตอร์มอเตอร์ 

     ลักษณะโครงสร้างทั่วไปของคาปาซิเตอร์สตาร์ทมอเตอร์เหมือนกับสปลิทเฟส แต่วงจรขดลวดสตาร์ทพันด้วยขดลวดใหญ่ขึ้นกว่าสปลิทเฟส และพันจำนวนรอบมากขึ้นกว่าขดลวดชุดรัน แล้วต่อตัวคาปาซิเตอร์ ( ชนิดอิเล็กโทรไลต์ ) อนุกรมเข้าในวงจรขดลวดสตาร์ท มีสวิตช์แรงเหวี่ยงหนีศูนย์กลางตัดตัวคาปาซิสเตอร์และขดสตาร์ทออกจากวงจร

     1.คาปาซิเตอร์สตาร์ทมอเตอร์ ( Capacitor start motor )

     การทำงานของคาปาซิเตอร์สตาร์ทมอเตอร์ เหมือนกับแบบสปลิทเฟสมอเตอร์ แต่เนื่องด้วยขดลวดชุดสตาร์ทต่ออนุกรมกับคาปาซิเตอร์ ทำให้กระแสที่ไหลเข้าในขดลวดสตาร์ทถึงจุดสูงสุดก่อนขดลวดชุดรัน จึงทำให้กระแสในขดลวดสตาร์ทนำหน้าขดลวดชุดรันซึ่งนำหน้ามากกว่าแบบสปิทเฟสมอเตอร์ คาปาซิเตอร์มอเตอร์จึงมีแรงบิดขณะสตาร์ทสูงมาก สำหรับมอเตอร์ชนิดคาปาซิเตอร์สตาร์ทมอเตอร์ หลังจากสตาร์ทแล้วมอเตอร์หมุนด้วยความเร็วรอบถึง  75 เปอร์เซ็นต์ของความเร็วสูงสุดสวิตช์แรงเหวี่ยงหนีจากศูนย์กลาง คาปาซิเตอร์จะถูกตัดจากวงจรดังแสดงรูปวงจรการทำงาน



รูปแสดงการทำงานวงจรคาปาซิเตอร์สตาร์ทมอเตอร์

     2.คาปาซิเตอร์รันมอเตอร์ ( Capacitor run motor ) 
     ลักษณะโครงสร้างทั่วไปของคาปาซิเตอร์รันมอเตอร์เหมือนกับชนิดคาปาซิเตอร์สตาร์ท แต่ไม่มี สวิตช์แรงเหวี่ยง ตัวคาปาซิเตอร์จะต่ออยู่ในวงจรตลอดเวลา ทำให้ค่าพาวเวอร์แฟคเตอร์ดีขึ้น และโดยที่คาปาซิเตอร์ต้องต่อถาวรอยู่ขณะทำงาน ดังนั้นคาปาซิเตอร์ประเภทน้ำมันหรือกระดาษฉาบโลหะ
     แต่สำหรับมอเตอร์ชนิดคาปาซิเตอร์รัน คาปาซิเตอร์จะต่ออยู่ในวงจรตลอดและเนื่องจากขดลวดชุดสตาร์ทใช้งานตลอดเวลา การออกแบบจึงต้องให้กระแสผ่านขดลวดน้อยกว่าแบบคาปาซิเตอร์สตาร์ท โดยการลดค่าของคาปาซิสเตอร์ลง ดังนั้นแรงบิดจึงลดลงกว่าแบบคาปาซิสเตอร์สตาร์ทแต่ยังสูงกว่าแบบสปลิทเฟสมอเตอร์
 


รูปแสดงวงจรการทำงานคาปาซิเตอร์รันมอเตอร ์

     3.คาปาซิเตอร์สตาร์ทและรันมอเตอร์ ( Capacitor start and run motor )
     
ลักษณะโครงสร้างของคาปาซิเตอร์สตาร์ทและรันมอเตอร์ชนิดนี้จะมีคาปาซิเตอร์ 2 ตัว คือคาปาซิเตอร์สตาร์ทกับคาปาซิเตอร์รัน คาปาซิเตอร์สตาร์ทต่ออนุกรมอยู่กับสวิตช์แรงเหวี่ยงหนีศูนย์กลาง หรือเรียกว่าเซ็นติฟูกัลสวิตช์ ส่วนคาปาซิเตอร์รันจะต่ออยู่กับวงจรตลอดเวลา คาปาซิเตอร์ทั้งสองจะต่อขนานกัน ซึ่งค่าของคาปาซิเตอร์ทั้งสองนั้มีค่าแตกต่างกัน
     มอเตอร์แบบคาปาซิเตอร์สตาร์ทและรัน ได้มีการออกแบบมีแรงบิดขณะสตาร์ทสูงขึ้นโดยคาปาซิสเตอร์รันต่อขนานกับคาปาซิเตอร์สตาร์ท เมื่อมอเตอร์ไฟฟ้าหมุนไปได้ความเร็วรอบ  75 เปอร์เซ็นต์ของความเร็วรอบสูงสุด ส่วนคาปาซิเตอร์รันต่ออยู่ในวงจรตลอดเวลาจึงทำให้มอเตอร์ที่มีกำลังสตาร์ทสูงและกำลังหมุนดีด้วยดังแสดงรูปวงจรการทำงาน
 


รูปแสดงวงจรการทำงานคาปาซิสเตอร์สตาร์ทและคาปาซิเตอร์รัน

     การกลับทางหมุน 

     การกลับทางหมุนการกลับทางหมุนของคาปาซิเตอร์มอเตอร์คือ กลับขดลวดขดใดขดหนึ่งขดสตาร์ทหรือขดรันเช่นเดีวยกันกับสปลิทเฟสมอเตอร์
 


รูปแสดงการกลับทางหมุนของคาปาซิเตอร์มอเตอร์








 Current Relay

- ป้องกันความเสียหายของ Motor และ Load
- ป้องกันกระแสเกินหรือกระแสตก
- ตั้งหน่วงเวลาได้ 0 -10 วินาที
- ตั้งหน่วงเวลาขณะสตาร์ทได้ 0 - 30 วินาที
- SPDT Relay Output

            Current Relay CR 95 เป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ใช้ป้องกันกระแสไฟฟ้าสูงกว่าค่ากำหนด (Over Current) หรือกระแสไฟฟ้าต่ำกว่าค่ากำหนด (Under Current) Current Relay จะตรวจสอบค่ากระแสไฟฟ้า เมื่อกระแสเกินกว่าค่าที่ตั้งไว้ รีเลย์จะทำงานพร้อมทั้งมี LED สีแดงติดสว่าง การตั้งค่ากระแส ใช้ปุ่มปรับ "CURRENT" การทำงานของรีเลย์สามารถตั้งหน่วงเวลาได้ 0 - 10 วินาที โดยปรับปุ่ม "DELAY" นอกจากนี้ยังสามารถตั้งหน่วงเวลา เฉพาะในขณะเริ่มสตาร์ท ("START DELAY") ได้ 0 - 30 วินาที เพื่อป้องกัน Starting Current ทำให้รีเลย์ทำงาน Current Relay สามารถนำไปใช้ป้องกันอุปกรณ์ไฟฟ้าได้หลายลักษณะ เช่น
  • ป้องกันมอเตอร์ Over Load ซึ่งความไวของ Current Relay นี้จะไวกว่าชุด Overload ชนิด Bimetal ที่ใช้ทั่วไปทำให้ สามารถป้องกันความเสียหายที่จะเกิดกับมอเตอร์และโหลดของมอเตอร์ได้ดีกว่า
     
  • ในงานบางอย่าง ถ้ากระแสมีค่าต่ำกว่าปกติ (Under Current) จะเกิดความเสียหายได้ เช่น ฮีทเตอร์ขาด, สายพานขาดหรือปั๊มพ์ทำงานโดยไม่มีของเหลวไหลผ่านซึ่ง Current Relayสามารถใช้ป้องกันความเสียหายเหล่านี้ได้





ฮอตไวร์รีเลย์ (Hot Wire Relay)  





  ส่วนประกอบของแอร์    
ฮอตไวร์รีเลย์ (Hot Wire Relay)
    หลักการทำงานของฮอตไวร์รีเลย์ขึ้นอยู่กับผลของความร้อนที่เกิดขึ้นกับลวดความร้อน (Hot Wire) ในขณะที่สตาร์ตมอเตอร์ กระแสจะสูงผ่านลวดความร้อนเกิดการขยายตัว ทำให้หน้าสัมผัสของรีเลย์ที่ต่อไปยังขดลวดของมอเตอร์จากออก ซึ่งเป็นการตัดขดลวดสตาร์ตออกจากวงจร 

ฮอตไวร์รีเลย์ประกอบด้วยหน้าสัมผัส 2 ชุดคือ 

1. หน้าสัมผัส S ซึ่งต่อเป็นอนุกรมอยู่กับขดลวดสตาร์ตของมอเตอร์ 
2. หน้าสัมผัส M ซึ่งต่อเป็นอนุกรมอยู่กับขดลวดของมอเตอร์ 

  ตามปกติหน้าสัมผัสทั้งคู่ของรีเลย์ชนิดนี้จะต่อกันอยู่ ฉะนั้นในช่วงจังหวะสตาร์ตมอเตอร์ทั้งขดลวดสตาร์ตและขดลวดรันจึงอยู่กับวงจร ในช่วงจังหวะการสตาร์ตนี้กระแสจะสูง และผ่านลวดความร้อนทำให้เกิดการขยายตัว ดึงเอาหน้าสัมผัส S ให้จากออกซ่วงเป็นการตัดขดลวดสตาร์ตออกจากวงจร ภายหลังจากที่ขดลวดสตาร์ตถูกตัดออกจากวงจรแล้ว กระแสซึ่งผ่านลวดความร้อนและขดลวดรันของมอเตอร์ยังคงทำให้มอเตอร์หมุนตามปกติอยู่ และคงมีความร้อนเพียงพอที่จะพึงให้หน้าสัมผัส S จากอยู่ตลอดเวลา แต่ไม่มากพอที่จะขยายตัวจนหน้าสัมผัส M จากออก  





รีเลย์ช่วยสตาร์ตชนิดทำงานด้วยค่าความต่างศักย์ไฟฟ้า (Potential Relay)

รีเลย์ช่วยสตาร์ตชนิดทำงานด้วยค่าความต่างศักย์ไฟฟ้า ใช้ในวงจรที่มอเตอร์ของคอมเพรสเซอร์ต่อแบบ CSR โดยอาศัยค่าความต่างศักย์ที่เกิดจากขดลวดสตาร์ตของมอเตอร์กระทำผ่านขดลวดในรีเลย์ ทำการตัดหน้าสัมผัสในรีเลย์ จึงเรียกรีเลย์ชนิดนี้ว่า Potential Relay

เทอร์โมสตัส อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ควบคุมอุณหภูมิภายในตู้เย็น

เทอร์โมสตัสเป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ควบคุมอุณหภูมิภายในตู้เย็นหรือภายในห้องปรับอากาศให้อยู่ในช่วงที่ต้องการโดยอัตโนมัติ ในขณะที่อุณหภูมิในตู้เย็นหรือในห้องปรับอากาศยังสูงอยู่ หน้าสัมผัสของเทอร์โมสตัสจะต่ออยู่ มอเตอร์คอมเพรสเซอร์จะทำงานดูดอัดสารความเย็น ทำให้เกิดผลความเย็นที่อีวาพอเรเตอร์ และเมื่ออุณหภูมิภายในตู้เย็นหรือในห้องปรับอากาศลดต่ำลงถึงจุดที่ตั้งไว้ หน้าสัมผัสของเทอร์โมสตัสจะแยกจาก ทำให้มอเตอร์คอมเพรสเซอร์หยุดทำงาน จนกระทั้งอุณหภูมิภายในห้องปรับอากาศสูงขึ้นอีก หน้าสัมผัสของเทอร์โมสตัตจะต่ออีกครั้งหนึ่ง ทำให้คอมเพรสเซอร์เริ่มทำงานใหม่ ซึ่งเป็นการควบคุมอุณหภูมิภายในตู้เย็นหรือภายในห้องปรับอากาศให้อยู่ในช่วงที่ต้องการโดยอัตโนมัติ เครื่องปรับอากาศขนาดเล็กในปัจจุบัน ได้นำเอาเทอร์โมสตัสแบบอิเล็กทรอนิกส์เข้ามาใช้ในการควบคุมอุณหภูมิ

แม็กเนติกคอนแทกเตอร์ (Magnetic Contactor)

แม็กเนติกคอนแทกเตอร์ (Magnetic Contactor) เป็นสวิตซ์อีกชนิดหนึ่ง ประกอบด้วยส่วนที่สำคัญ 2 ส่วนคือ ส่วนที่เป็นขดลวดหรือคอยล์ ซึ่งเมื่อป้อนกระแสไฟฟ้าเข้าในขดลวดแล้วจะเกิดสนามแม่เหล็กขึ้น และอีกส่วนหนึ่งเป็นหน้าสัมผัสของตัวแม็กเนติคอนแทกเตอร์ ทำหน้าที่ตัดหรือต่อวงจรไฟฟ้า กำลังที่ป้อนเข้าโหลด หลักการทำงานของแม็กเนติกคอนแทกเตอร์คือ เมื่อป้อนกระแสไฟฟ้าเข้าในขดลวดจะเกิดสนามแม่เหล็กขึ้นรอบขดลวด มีอำนาจดูดเหล็กอาร์มาเจอร์ (Armature) ซึ่งแกนเหล็กนี้ปลายข้างหนึ่งจะต่ออยู่กับหน้าสัมผัสเคลื่อนที่ (Moving Contact) และปลายอีกข้างหนึ่งวางอยู่บนสปริง ซึ่งจะคอยผลักแกนเหล็กอาร์มาเจอร์ให้หน้าสัมผัสจาก เมื่อขดลวดเกิดสนามแม่เหล็กและมีอำนาจมากกว่าแรงดันสปริง แกนอาร์มาเจอร์จะถูกดูด ทำให้หน้าสัมผัสต่อกัน และเมื่อตัดกระแสไฟฟ้าที่ป้อนเข้าขดลวด อำนาจแม่เหล็กรอบขดลวดจะหมดไป แรงดันสปริงจะผลักแกนเหล็กอาร์มาเจอร์ให้หน้าสัมผัสจากออก
หน้าสัมผัสของแม็กเนติกคอนแทกเตอร์ในหนึ่งตัวอาจจะมีขั้วเพียงขั้วเดียว หรือ 2 ขั้ว หรือ 3 ขั้วก็ได้ และหน้าสัมผัสอาจเป็นแบบปกติเปิดทั้งหมด หรืออาจจะมีทั้งหน้าสัมผัสปกติเปิดและปกติปิดสลับกันก็ได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบและวงจรการควบคุม
การเลือกแม็กเนติกคอนแทกเตอร์เพื่อใช้งานต้องคำนึงถึงหลักเบื้องต้นดังนี้
  1. ขนาดของแรงเคลื่อนไฟฟ้าที่ป้อนเข้าขดลวดของแม็กเนติกคอนแทกเตอร์ จะมีขนาด คือ 6 โวลต์ DC, 12 โวลต์ DC, 24 โวลต์ AC, 48 โวลต์ AC, 220 โวลต์ AC และ 380 โวลต์ AC เป็นต้น
  2. ขนาดการทนกระแสของหน้าสัมผัส จะขึ้นอยู่กับการกินกระแสของโหลดที่ต้องการควบคุมซึ่งมีขนาดคือ 20, 25, 30, 40, 50 และ 60 แอมแปร์ หรือมากกว่าขึ้นไป เป็นต้น
  3. จำนวนขั้วของหน้าสัมผัส จะขึ้นอยู่กับจำนวนสายไฟที่ต้องการควบคุมการตัด-ต่อ เช่น ถ้าต้องการตัด – ต่อวงจรที่มีสายไฟ 3 เส้น ก็ต้องใช้หน้าสัมผัส 3 ขั้ว เป็นต้น
  4. ชนิดของหน้าสัมผัสจะขึ้นอยู่กับโหลดที่ต้องการใช้งาน และขนาดของกระแสไฟ

รีเลย์ (Relay) ทีใช้ในงานเครื่องทำความเย็น

รีเลย์ (Relay) ทีใช้ในงานเครื่องทำความเย็นจะต่อเข้ากับวงจรมอเตอร์คอมเพรสเซอร์ เพื่อทำหน้าที่ตัดไฟฟ้าซึ่งเข้าเลี้ยงขดลวดสตาร์ตออกจากวงจรเมื่อมอเตอร์หมุนออกตัวได้แล้ว เช่นเดียวกับสวิตซ์แรงเหวี่ยงหนีศูนย์ที่อยู่ภายในมอเตอร์ ซึ่งจะคอยตัดขดลวดสตาร์ตออกจากววจรโดยอัตโนมัติ เมื่อมอเตอร์หมุนและมีความเร็วรอบตามเกณฑ์แล้ว แต่โดยที่มอเตอร์คอมเพรสเซอร์แบบเฮอร์เมติกไม่สามารถติดตั้งสวิตซ์แรงเหวี่ยงหนีศูนย์เข้าไว้ภายในตัวเรือนได้ จึงจำเป็นต้องใช้รีเลย์ต่อเข้ากับวงจรภายนอกทำหน้าที่แทน ซึ่งรีเลย์ที่พบใช้ในงานเครื่องทำความเย็น แบ่งออกได้ดังนี้
  1. เคอร์เรนต์รีเลย์ (Current Relay)
  2. โพเทนเชียลรีเลย์ (Potential Relay)
  3. ฮอตไวร์รีเลย์ (Hot Wire Relay)
ตามปกติขดลวดสตาร์ตของมอเตอร์ควรจะมีไฟเลี้ยงในจังหวะสตาร์ตเพียงช่วงสั้น ๆ ประมาณ 3-4 วินาที เพราะถ้าปล่อยให้กระแสไฟฟ้าผ่านเข้าเลี้ยงขดลดสตาร์ตนานเกินไป ขดลวดสตาร์ตอาจร้อนจัด ทำให้เกิดอันตรายต่อมอเตอร์ได้ ฉะนั้นในการทำงานที่ถูกต้อง รีเลย์ที่ใช้ต้องให้ได้ขนาดพอดีกับมอเตอร์ การซ่อมเปลี่ยนรีเลย์ใหม่จะต้องแน่ใจว่ารีเลย์ใหม่นี้มีขนาดและคุณสมบัติในการใช้งานเท่ากับรีเลย์ตัวเดิมเสมอ

โอเวอร์โหลด อุปกรณ์ป้องกันมอเตอร์คอมเพรสเซอร์ชำรุด

โอเวอร์โหลดเป็นอุปกรณ์ป้องกันไม่ให้มอเตอร์คอมเพรสเซอร์เกิดการชำรุดเสียหายเมื่อระบบเครื่องทำความเย็นเกิดการขัดข้อง และถ้ามอเตอร์คอมเพรสเซอร์กินกระแสมากเกินไปโอเวอร์โหลดจะตัดวงจรไฟที่ป้อนเข้ามอเตอร์คอมเพรสเซอร์ก่อนที่ขดลวดของมอเตอร์จะไหม้
หลักการทำงานของโอเวอร์โหลดจะอาศัยหลักของโลหะ 2 ชนิดที่มีสัมประสิทธิ์การขยายตัวไม่เท่ากันมาตรึงติดกัน ในขณะที่มอเตอร์คอมเพรสเซอร์ทำงานเป็นปกติ หน้าสัมผัสของโอเวอร์โหลดจะมีไฟเข้าเลี้ยงขดลวดของมอเตอร์คอมเพรสเซอร์อยู่ตลอดเวลา และถ้ามอเตอร์คอมเพรสเซอร์กินกระแสมากเกินไปจะเกิดความร้อน โลหะทั้งสองชนิดจะขยายตัวไม่เท่ากันและจะเกิดการงอตัว ทำให้หน้าสัมผัสจากออกเพื่อตัดวงจรไฟที่เข้าเลี้ยงขดลวดของมอเตอร์คอมเพรสเซอร์ ป้องกันไม่ให้ขดลวดของมอเตอร์คอมเพรสเซอร์ไหม้และอุณหภูมิของมอเตอร์คอมเพรสเซอร์เย็นลง โลหะทั้งสองชนิดจะเกิดการหดตัวดึงให้หน้าสัมผัสของโอเวอร์โหลดต่อกันอีกครั้งหนึ่ง ทำให้มีไฟเข้าเลี้ยงขดลวดของมอเตอร์คอมเพรสเซอร์ใหม่ และถ้าอาการขัดข้องของระบบเครื่องทำความเย็นยังไม่ได้รับการแก้ไข โอเวอร์โหลดจะตัด-ต่อวงจรอยู่ตลอดเวลา ซึ่งต้องรีบตัดไฟเข้าเครื่องหรือถอดปลั๊กไฟออก และตรวจหาข้อขัดข้องทันที

การอัดไอ



  1. หลักการทำความเย็นเป็นกระบวนการถ่ายเทความร้อนออกจากพื้นที่หนึ่ง ซึ่งต้องการทำความเย็นโดยความร้อนจะถูกส่งผ่านน้ำยาจากนั้นน้ำยาจะถ่ายเทความร้อนให้กับอากาศภายนอกพื้นที่น้ำยาจะเป็นตัวกลางในการถ่ายเทความร้อนโดยอาศัยกระบวนการอัดน้ำยาให้เป็นไอ กระบวนการควบแน่นกระบวนการขยายตัวและกระบวนการระเหย ซึ่งกระบวนการเหล่านี้จะเกิดตามส่วนต่าง ๆ ของระบบ เช่น ที่คอมเพรสเซอร์ ที่คอนเดนเซอร์ที่อุปกรณ์ควบคุมการไหล เป็นต้นดังนั้นการเรียนรู้เกี่ยวกับหลักการทำความเย็นใน ที่นี้จึงเป็นสิ่งจำเป็น ทั้งนี้เพื่อให้สามารถวิเคราะห์ระบบทำความเย็นได้ถูกต้อง และสามารถซ่อมบำรุงระบบให้มีประสิทธิภาพสูงสุด
    การทำความเย็น (Refrigeration) คือกระบวนการถ่ายเทความร้อนออกจากพื้นที่หรือ วัตถุที่ต้องการทำความเย็น หรือเป็นกระบวนการลดอุณหภูมิ และรักษาอุณหภูมิของพื้นที่หรือวัตถุ ที่ต้องการทำ ความเย็นให้ต่ำ กว่าอุณหภูมิรอบๆ
    ระบบทำความเย็นแบบอัดไอ (Vapor Compression System)
    ระบบทำความเย็นและ ปรับอากาศที่ใช้ในปัจจุบันอาศัยการทำงานแบบอัดไอน้ำยาทำความเย็นด้วยคอมเพรสเซอร์เพื่อนำน้ำยาที่ทำความเย็นแล้วกลับมาใช้อีก น้ำยาทำความเย็นจะไหลเวียนภายในระบบปิดอยู่ตลอดเวลา ในระบบทำความเย็นแบบอัดไอ  ประกอบไปด้วยอุปกรณ์หลัก คือ คอยล์เย็น คอมเพรสเซอร์ คอนเดนเซอร์ และอุปกรณ์ควบคุมการไหล ซึ่งอุปกรณ์แต่ละส่วนมีหน้าที่ดังนี้
    คอยล์เย็น (Evaporator) ทา หน้าที่ดูดความร้อนจากพื้นที่ หรือวัตถุที่ต้องการทำความ เย็น ไปใช้ในการเดือดกลายเป็นไอของน้ำยา
    คอมเพรสเซอร์ (Compressor) ทำหน้าที่ ดูดน้ำยาให้ไหลเวียนภายในระบบพร้อมกับอัดไอน้ำยาที่มีความดันต่ำ ให้เป็นไอน้ำยาที่มีความดันสูงและอุณหภูมิสูง
    คอนเดนเซอร์ (Condenser) ทำหน้าที่ระบายความร้อนให้กับไอน้ำยาที่มี อุณหภูมิสูง ออกสู่อากาศภายนอกระบบ เมื่อไอน้ำยาได้รับการระบายความร้อนจะเกิดการควบแน่นเป็นน้ำยาเหลว
    อุปกรณ์ควบคุมการไหล (Expansion Valve) ทำหน้าที่ควบคุมการไหลของน้ำยาที่ไหลเข้าคอยล์เย็น


    อุปกรณ์หลักในระบบทำความเย็น
    วัฎจักรของการทำความเย็น (Refrigeration Cycle) ในระบบทำความเย็นแบบอัดไอน้ำยาทำความเย็นจะไหลเวียนผ่านส่วนต่าง ๆ ของระบบอยู่ตลอดเวลา ในแต่ละรอบน้ำยาจะต้องผ่าน กระบวนการต่อไปนี้ คือ
    การขยายตัว (Expansion) เกิดที่อุปกรณ์ควบคุมการไหล
    การกลายเป็นไอ (Vaporization) เกิดที่คอยล์เย็น
    การอัดไอ (Compression) เกิดที่คอมเพรสเซอร์
    การควบแน่น (Condensation) เกิดที่คอนเดนเซอร์
    การทำงานของระบบทำความเย็น
    ระบบทำความเย็นจะทำความเย็นได้ น้ำยาภายในระบบจะต้องไหลเวียนอุปกรณ์ที่ทำให้ น้ำยาไหลเวียนในระบบคือ คอมเพรสเซอร์ซึ่งเปรียบเสมือนเครื่องสูบที่สูบน้ำยาให้ไหลเวียนอยู่ ตลอดที่ระบบทำงาน
     น้ำยาที่ไหลเข้าอุปกรณ์ควบคุมการไหล จะอยู่ในสถานะของเหลวที่มีความดันสูง อุณหภูมิสูงอุปกรณ์ควบคุมการไหลจะลดความดันของน้ำยาลง ทำให้จุดเดือดของน้ำยาลดต่ำลง น้ำยาที่ออกจากอุปกรณ์ควบคุมการไหล จะไหลเข้าคอยล์เย็นเป็นละอองน้ำยา โดยน้ำยาจะมีจุดเดือดต่ำกว่าอุณหภูมิของวัตถุที่แช่อยู่ในห้องทำความเย็น ทำให้เกิดการถ่ายเทความ ร้อนจากวัตถุที่แช่ไปให้น้ำยา ๆ เกิดการเดือดกลายเป็นไอโดยที่อุณหภูมิและความดันของน้า ยาคงที่ ความร้อนที่ใช้ในการเดือดกลายเป็นไอคือ ความร้อนแฝงของการกลายเป็นไอ
    น้ำยาที่ออกจากคอยล์เย็นจะอยู่ในสถานะไอที่ความดันต่ำ อุณหภูมิต่ำจะถูกส่งผ่านทางท่อดูด เข้าคอมเพรสเซอร์ขณะที่ผ่านท่อดูดไอของน้ำยาจะได้รับความร้อนจากอากาศ รอบ ๆ ทา ให้ไอน้ำยามีอุณหภูมิสูงขึ้นแต่ความดันยังคงที่ ความร้อนช่วงนี้คือความร้อนยิ่งยวด
    น้ายาที่เข้าคอมเพรสเซอร์จะอยู่ในสถานะไอที่ความดันต่ำ อุณหภูมิต่ำ จากนั้น คอมเพรสเซอร์จะอัดไอน้ำยาให้มีปริมาตรลดลง ทำให้ความดันและอุณหภูมิสูงขึ้นโดยอุณหภูมิของ ไอจะสูงกว่าอุณหภูมิไออิ่มตัว
    ไอน้ำที่ออกจากคอมเพรสเซอร์จะมีอุณหภูมิสูงกว่าอากาศรอบๆทำให้เกิดการระบาย ความร้อนให้กับอากาศขณะถูกส่งผ่านท่อจ่ายไปยังคอนเดนเซอร์ทำให้อุณหภูมิของไอน้ำยาลดลง เท่ากับอุณหภูมิไอน้ำอิ่มตัวแต่ยังคงสูงกว่าอุณหภูมิของอากาศรอบคอนเดนเซอร์
                    ไอน้ำที่เข้าคอนเดนเซอร์จะมีความดันสูงอุณหภูมิเท่ากับอุณหภูมิอิ่มตัวแต่สูงกว่า อุณหภูมิของอากาศรอบ ๆ คอนเดนเซอร์ทำให้เกิดการถ่ายเทความร้อน จากไอน้ำให้กับอากาศ รอบ ๆ คอนเดนเซอร์ ผ่านพื้นผิวคอนเดนเซอร์ ไอน้ำเกิดการควบแน่นเป็นของเหลว โดยที่ความดันและอุณหภูมิยังคงที่ ความร้อนที่ถ่ายเทให้กับอากาศคือ ความร้อนแฝงของการควบแน่น
    น้ำยาที่ออกจากคอนเดนเซอร์ จะอยู่ในสถานะของเหลวอุณหภูมิสูง, ความดันสูงจะ ไหลเข้าถังรับน้ำยา ภายในถังรับน้ำยาจะประกอบด้วยน้ำยาที่อยู่ในสถานะของเหลวกับน้ำยาที่อยู่ใน สถานะไอซึ่งยังไม่ควบแน่นลอยอยู่ด้านบน
     น้ำยาเหลวจะถูกปล่อยออกจากถังรับน้ำยาส่งผ่านทางท่อของเหลวเข้าอุปกรณ์ ควบคุมการไหล ระหว่างทางน้ำยาซึ่งเป็นของเหลวอิ่มตัวจะมีอุณหภูมิอิ่มตัวสูงกว่าอากาศรอบ ๆ ท่อ ทำให้เกิดการถ่ายเทความร้อนจากน้ำยาไปยังอากาศทำให้อุณหภูมิของน้ำยาลดลงต่ำกว่าอุณหภูมิ อิ่มตัว ซึ่งกระบวนการนี้คือการซับคูลล์ และเรียกของเหลวที่มีอุณหภูมิต่ำ กว่าอุณหภูมิอิ่มตัวว่า ของเหลวซับคูลล์  ต่อจากนี้การไหลเวียนของน้ำ ยาทำความเย็นก็จะเริ่มรอบใหม่ซึ่งจะ ผ่านกระบวนการขยายตัวกระบวนการเดือดเป็นไอ กระบวนการอัดไอและกระบวนการควบแน่น กลับเป็นของเหลวตามเดิมโดยจะหมุนเวียนไปเรื่อย ๆ ตลอดเวลาของการทำงาน
    ระบบทำความเย็นแบบอัดไอ (Vapor Compression System) แบ่งเป็น ประเภท คือ

    1.       ระบบอัดน้ำยาชั้นเดียว (Single Stage)
    ระบบอัดน้ำยาชั้นเดียว (Single Stage) เหมาะสำหรับห้องอุณหภูมิ ตั้งแต่ -25 C ขึ้นไป หรือใช้ทำน้ำเย็น คอมเพรสเซอร์ที่ใช้ เช่น Bitzer รุ่น4G.2, 6G.2, 6F.2  เป็นต้น

    หลักการทำงาน
                    เมื่อคอมเพรสเซอร์ทำงาน จะดูดไอน้ำยามาทางท่อทางดูดจากคอยล์เย็น และอัดไอน้ำยาออกทางท่อส่งผ่านหม้อดักน้ำมัน (Oil Separator) เข้าสู่คอนเดนเซอร์ หม้อดักน้ำมัน จะแยกน้ำมันออกจากไอน้ำยา แล้วส่งน้ำมันกลับเข้าคอมเพรสเซอร์ เพื่อใช้หล่อลื่นในคอมเพรสเซอร์ ส่วนของน้ำมันที่ดักไว้ไม่หมดจะไปกับน้ำยา และค้างตามท่อ น้ำยาจะเป็นตัวพาน้ำมันส่วนนี้ไหลกลับคืนเข้าคอมเพรสเซอร์ต่อไป
    ไอน้ำยาร้อนจะถูกอัดเข้าคอนเดนเซอร์ และถูกน้ำทะเลระบายความร้อนออก จนกลายเป็นน้ำยาเหลว และไหลผ่านไส้กรองเพื่อดูดความชื้นและกรองสิ่งสกปรกออกจากน้ำยาและน้ำมันเครื่อง น้ำยาจะถูกดันไปที่วาล์วเอ็กแปนชั่น (Expansion Valve) ซึ่งจะมีรูเล็กๆ ที่ปรับขนาดได้ คอยปล่อยให้น้ำยาผ่านเข้าไประเหยในคอยล์เย็น (Evaporator) ในปริมาณที่พอเหมาะที่จะระเหยได้หมดพอดี ก่อนที่จะถูกดูดผ่าน Accumulator  แล้วดูดเข้าคอมเพรสเซอร์ แล้วอัดออกต่อไป

    1.       ระบบอัดน้ำยา ชั้น (Two Stage)


    ระบบอัดน้ำยา ชั้น (Two Stage) เหมาะสำหรับใช้งานห้องที่เย็นจัด (ฟรีส) อุณหภูมิตั้งแต่ -25 C ลงไป  คอมเพรสเซอร์ที่ใช้ เช่น Bitzer รุ่นS6G.2, S6F.2  เป็นต้น



    หลักการทำงาน
                    ทำงานเช่นเดียวกับระบบอัดน้ำยาชั้นเดียว (Single Stage)แต่เนื่องจากคอมเพรสเซอร์เริ่มอัดน้ำยาตั้งแต่ความดันต่ำ ทำให้การอัดเพียงครั้งเดียวได้ความดันไม่ถึง ทำให้น้ำยาไม่ร้อน และไม่มีแรงดันพอที่จะทำให้ไอร้อนน้ำยากลั่นตัวกลับมาเป็นของเหลว มาใช้งานใหม่ได้อีกครั้ง จึงต้องมีการอัดน้ำยาครั้งที่ 2 (Stage 2ndเพื่อที่จะให้น้ำยาเหลวกลั่นตัวกลับมาใช้ใหม่ที่คอนเดนเซอร์ แต่เนื่องจากความดันเริ่มต้นของการอัดครั้งที่สองอาจสูงเกินไป และร้อนเกินไป จะเป็นอันตรายต่อคอมเพรสเซอร์ จึงจำเป็นต้องมี Expansion Valve ฉีดน้ำยาเข้ามาผสมกับไอน้ำยาที่อัดจาก Stage 1st  เพื่อไม่ให้ไอน้ำยาก่อนอัด Stage 2nd ร้อนจัดหรือแห้งเกินไป ขณะเดียวกันเพื่อป้องกันไม่ให้น้ำยาเหลวที่ฉีดเข้ามา มีสภาพของเหลวปนอยู่ จึงใช้ Plate Heat Exchanger เป็นตัวแลกเปลี่ยนความร้อนกับน้ำยาเหลวที่จะจ่ายให้ Expansion Valve ที่คอยล์เย็น ทำให้น้ำยาที่จ่ายไปคอยล์เย็นมีอุณหภูมิลดลง (Sub Cool) ทำให้ทำความเย็นได้มากขึ้นด้วย 

ตาราง ph

การทำความเข้าใจแผนภาพค่า PH

ในแผนภาพ PH, ความดันได้แสดงอยู่ในแกน y และเอนทัลได้แสดงอยู่ในแกน x โดยปกติเอนทัลอยู่ในหน่วยงานของบีทียู / ปอนด์และความดันอยู่ในหน่วยปอนด์ต่อตารางนิ้ว (PSI) คว่ำร่าง U แสดงในแผนภาพกำหนดจุดที่สารทำความเย็นที่มีการเปลี่ยนแปลงขั้นตอน ด้านซ้ายโค้งแนวตั้งแสดงให้เห็นเส้นโค้งของเหลวอิ่มตัวและเส้นโค้งแนวตั้งที่เหมาะสมบ่งชี้โค้งไออิ่มตัว ภูมิภาคในระหว่างสองเส้นโค้งอธิบายรัฐสารทำความเย็นที่มีส่วนผสมของทั้งของเหลวและไอ สถานที่ด้านซ้ายของเส้นโค้งของเหลวอิ่มตัวบ่งชี้ว่าสารทำความเย็นที่อยู่ในรูปของเหลวและสถานที่ไปทางขวาของเส้นโค้งไออิ่มตัวบ่งชี้ว่าสารทำความเย็นอยู่ในรูปแบบของไอ จุดที่สองเส้นโค้งตอบสนองที่เรียกว่าจุดสำคัญ ความสำคัญของจุดนี้เป็นที่จุดดังกล่าวข้างต้นใด ๆ ไม่มีความดันที่เพิ่มขึ้นจะเปลี่ยนไอเป็นของเหลว แผนภาพรูปแบบเรียบง่ายความดัน enthalpy แสดงอยู่ด้านล่างอธิบายข้อมูลนี้
โพสต์ภาพ
เส้นโค้งเลิกแผนภาพเป็นสามส่วน (1) ของเหลว (2) ไอและ (3) ผสม
(1) ภาค Liquid: ภูมิภาคของเหลวยังเป็นที่รู้จักกันในภูมิภาคย่อยระบายความร้อนด้วย ในภูมิภาคนี้มีเส้นแนวตั้งอุณหภูมิที่เพิ่มขึ้นตามปริมาณความร้อนที่เพิ่มขึ้น รูปที่ 8 เป็นแผนภาพ PH ง่ายแสดงเส้นอุณหภูมิคงที่
(2) ภาคไอ: ไอภูมิภาคนอกจากนี้ยังเป็นที่รู้จักกันในภูมิภาคอุ่นสุด ในภูมิภาคนี้มีเส้นแนวตั้งอุณหภูมิที่เพิ่มขึ้นตามปริมาณความร้อนที่เพิ่มขึ้น อ้างถึงรูปที่ 8 นอกจากนี้ยังมีสายของเอนโทรปีคงที่ซึ่งยังมีความสำคัญ เอนโทรปีคือการวัดปริมาณของความผิดปกติในระบบ
(3) ของเหลวไอผสมภูมิภาค: ในภูมิภาคนี้แผนภาพ PH ที่แสดงให้เห็นเส้นแนวนอนอุณหภูมิซึ่งบ่งบอกถึงอุณหภูมิคงที่ ภูมิภาคผสมเป็นพื้นที่เปลี่ยนเฟสที่นอกเหนือจากเอนทัลปีใด ๆ ที่จะก่อให้เกิดสภาพคล่องเพิ่มเติมเพื่อให้กลายเป็นไอแทนของการเพิ่มอุณหภูมิ รูปที่ 8 แสดงให้เห็นถึงเส้นแนวนอนอุณหภูมิในภูมิภาคผสม นอกจากนี้ยังมีเส้นโค้งลาดขึ้นซึ่งบ่งบอกถึงคุณภาพ เป็นตัวชี้วัดคุณภาพของอัตราส่วนของมวลไอมวลรวมที่ ยกตัวอย่างเช่นคุณภาพของ 0.1 หรือ 10% ซึ่งตั้งอยู่ใกล้เส้นของเหลวอิ่มตัวอธิบายจุดที่มีไอน้ำ 10% โดยมวล บรรทัด 0.9 หรือ 90% ซึ่งตั้งอยู่ใกล้เส้นไออิ่มตัวอธิบายจุดที่มีไอน้ำ 90% โดยมวล รูปก่อนหน้ารูปที่ 7 แสดงให้เห็นเส้นที่มีคุณภาพ
โพสต์ภาพ
แกน XY แผนภาพค่า PH เป็นเส้นความดันวิ่งจากซ้ายไปขวา เส้นเอนทัลมีเส้นแนวตั้ง กราฟโครงกระดูกที่แสดงด้านล่างแสดงให้เห็นเส้นความดัน enthalpy
โพสต์ภาพ

วงจรทำความเย็น

หนึ่งในทักษะที่สำคัญที่สุดที่จำเป็นสำหรับวิศวกรมืออาชีพในเขต HVAC และเครื่องทำความเย็นเป็นการนำวงจรทำความเย็นในแผนภาพความดันเอนทัลส่วนต่อไปนี้จะแสดงแต่ละส่วนที่เฉพาะเจาะจงของวงจรการทำความเย็นในแผนภาพความดันเอนทัลปีและยังจะเน้นจุดที่สำคัญและการคำนวณที่จำเป็น
คำอธิบายนี้ตลอดสารทำความเย็น R-134a ถูกนำมาใช้เป็นตัวอย่าง ก็จะแนะนำว่าวิศวกรได้รับสำเนาของแผนภาพค่า PH สำหรับ R-134a และสารทำความเย็นอื่น ๆ ทั่วไป แผนภาพเหล่านี้สามารถพบได้ในหนังสือเล่ม ASHRAE ความรู้พื้นฐาน แผนภาพตัวอย่าง R-134a แสดงอยู่ด้านล่างด้วยวงจรทำความเย็นตัวอย่างระบุ (ขั้นตอนที่ 1) ระเหย (ขั้นตอนที่ 2) คอมเพรสเซอร์ (ขั้นตอนที่ 3) และ Condenser (ขั้นตอนที่ 4) อุปกรณ์ขยาย
โพสต์ภาพ

ขั้นที่ 1: EVAPORATOR

สารทำความเย็นเข้าระเหยเป็นเย็นผสมของเหลวไอบางส่วน ความดันการดำเนินงานและอุณหภูมิของเครื่องระเหยที่เรียกว่าความดันและอุณหภูมิดูดดูดสายดูดท่อสารทำความเย็นที่เส้นทางก๊าซจากระเหยคอมเพรสเซอร์ มันเป็นสิ่งสำคัญที่จะทราบว่าในภูมิภาคผสมความดันและอุณหภูมิตัวแปรตาม
ตัวอย่างเช่นถ้าคอมเพรสเซอร์ทำงานที่ความดันดูดของ 36.8 psia แล้วดันระเหยที่สอดคล้องกันคือ 36.8 psia และอุณหภูมิระเหยที่สอดคล้องกันคือ 25 ° F ดูด้านล่างรูปสำหรับจุด A และ B (ค่ามีการทำความเย็น R-134a) . ถ้าคอมเพรสเซอร์ทำงานที่ความดันดูดของ 49.7 psia แล้วดันระเหยที่สอดคล้องกันยังเป็น 49.7 psia และอุณหภูมิระเหย 40 ° F ดูด้านล่างรูปสำหรับจุด A 'และ B' (ค่ามีการทำความเย็น R-134a)
โพสต์ภาพ
เครื่องระเหยสารทำความเย็นย้ายจากจุด A (บางส่วนส่วนผสมของเหลวไอ) ไปยังจุด B ซึ่งเป็นสารทำความเย็นไออิ่มตัวอย่างเต็มที่ กับการถ่ายโอนความร้อนระเหยการทำความเย็นที่มีกำไรในอุณหภูมิไม่ได้เนื่องจากความร้อนจะใช้ในการแปลงของเหลวที่เหลือเพื่อก๊าซ ในการระเหยที่เหมาะมีเพียงการถ่ายเทความร้อนมากพอที่จะแปลงของเหลวทั้งหมดไปติดแก๊สและไม่มีอะไรเพิ่มเติม ดังนั้นการส่งออกของระเหยที่เหมาะคือไอ 100% ที่อุณหภูมิทางเข้าเดียวกันโปรดดูที่รูปด้านล่าง ในรูปนี้เราจะเห็นว่าเป็นสารทำความเย็นเคลื่อนผ่านระเหยที่อุณหภูมิยังคงเหมือนเดิมและร้อยละของไอเพิ่มขึ้นจนกว่าจะถึงอิ่มตัวที่ 100%
โพสต์ภาพ
นอกจากนี้ยังนำมาใช้ในรูปด้านบนเป็นระยะ Superheat ถ้าความร้อนเพิ่มขึ้นจะถูกเพิ่มลงในไอสารทำความเย็น 100% แล้วความร้อนจะใช้ในการเพิ่มอุณหภูมิและเป็นการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิที่เรียกว่า Superheat
ในรูปด้านล่างระเหยกับ 15 ° F Superheat จะแสดง สารทำความเย็นถึงไอ 100% ก่อนที่จะออกระเหย ทุกความร้อนเพิ่มขึ้นจากจุดนี้จะใช้ในการเพิ่มอุณหภูมิของสารทำความเย็นจนกว่าจะถึงอุณหภูมิ 40 ° F สารทำความเย็นนี้มี Superheat 15 ° F เพราะอุณหภูมิสุดท้ายคือ 15 องศาผ่านอุณหภูมิอิ่มตัวของ 25 ° F มันเป็นสิ่งสำคัญที่จะทราบว่าความดันคงที่ตลอดระเหย
โพสต์ภาพ
บนความดัน enthalpy แผนภาพร้อนสูงแสดงให้เห็นว่าการเคลื่อนไหวในแนวนอนตามแนวความดันดูดผ่านโค้งไอ 100% รูปในหน้าต่อไปแสดงให้เห็นถึงความแตกต่างระหว่าง 0 ° F และ 15 ° F Superheat จุด B เป็นจุดไอ 100% ที่ความดันระเหย / ดูดคงที่ของ 36.8 psia และอุณหภูมิ 25 ° F จุด B 'เป็นผลมาจากความร้อนเพิ่มขึ้น / เอนทัลปีเพิ่มให้กับสารทำความเย็น ย้ายสารทำความเย็นจากจุด B ไปยังจุด B 'ที่มีอุณหภูมิที่เกิดขึ้นคือ 40 ° F
โพสต์ภาพ

ขั้นที่ 2: COMPRESSOR

คอมเพรสเซอร์เป็นลักษณะการดูดสารทำความเย็นและเงื่อนไขการปล่อย เส้นแนวนอนจะมีการวาดทั่วแผนภาพความดันเอนทัลทำความเย็นสำหรับการดูดและการปล่อยแรงกดดัน จากนั้นอุณหภูมิขาเข้าของคอมเพรสเซอร์ตามที่กำหนดโดยอุณหภูมิออกจากระเหยจะถูกใช้เป็นจุดเริ่มต้นของคอมเพรสเซอร์ดังที่แสดงโดยจุด B 'ในรูปด้านล่าง คอมเพรสเซอร์จากนั้นเพิ่มความดันของสารทำความเย็นได้ถึงความดันปล่อย การบีบอัดที่เกิดขึ้นในเอนโทรปีคงยังเป็นที่รู้จักการบีบอัด isentropic ดังนั้นจุดตัดของเส้นเอนโทรปีอย่างต่อเนื่องและสายแรงดันที่จะระบุเงื่อนไขสุดท้ายของก๊าซสารทำความเย็นออกจากคอมเพรสเซอร์ที่แสดงโดยจุด C 'ในรูปด้านล่าง
โพสต์ภาพ
ทักษะทั่วไปที่จำเป็นของวิศวกรมืออาชีพคือการกำหนดงานที่ทำโดยคอมเพรสเซอร์ งานนี้แสดงในรูปดังกล่าวข้างต้นเป็นความแตกต่างระหว่างการป้อนคอมเพรสเซอร์เอนทัล (H1) และเอนทัลปีออกจากที่ (H2) สมการเพื่อตรวจสอบการทำงานของคอมเพรสเซอร์แสดงอยู่ด้านล่าง นี้สมการหลายอัตราการไหลของเครื่องทำความเย็นจากการเปลี่ยนแปลงเอนทัลระหว่างการปล่อยและการดูดเงื่อนไข
โพสต์ภาพ
แกน XY แผนภาพค่า PH เป็นเส้นความดันวิ่งจากซ้ายไปขวา เส้นเอนทัลมีเส้นแนวตั้ง กราฟโครงกระดูกที่แสดงด้านล่างแสดงให้เห็นเส้นความดัน enthalpy
โพสต์ภาพ

ขั้นตอนที่ 3: CONDENSER

สารทำความเย็นเข้าคอนเดนเซอร์ขณะนี้คือร้อนก๊าซสารทำความเย็นแรงดันสูง คอนเดนเซอร์จะปรากฏบนแผนภาพความดัน enthalpy เป็นเส้นแนวนอนเส้นแนวนอนนี้เป็นสายของความดันคงที่สอดคล้องกับแรงดันของคอมเพรสเซอร์ เงินคอนเดนเซอร์จากขวาไปซ้ายในสามขั้นตอนต่อไปนี้:
(1) ก๊าซแห้งเย็นลงอุณหภูมิอิ่มตัว [C '160 ° F ถึง D' 140 ° F] การระบายความร้อนที่เกิดขึ้นเป็นความร้อนไหลจากก๊าซทำความเย็นร้อนกลางคอนเดนเซอร์ระบายความร้อน
(2) ถัดไปไออิ่มตัวที่ 100% D 'จะถูกแปลงเป็นของเหลวอิ่มตัว 100% ที่ D' ' ความร้อนจะสูญเสียไปถึงปานกลางคอนเดนเซอร์ระบายความร้อนเป็นไอควบแน่นของเหลว
(3) สุดท้ายของเหลวอิ่มตัว 100% ย่อยระบายความร้อนจาก D '' เพื่อ D '' '[140 ° F ถึง 115 ° F] ในคอนเดนเซอร์เหมาะไม่ย่อยระบายความร้อนที่เกิดขึ้นเมื่อสารทำความเย็นเป็นของเหลวอิ่มตัวอย่างเต็มที่ผลการสูญเสียความร้อนใด ๆ เพิ่มเติมในการลดลงของอุณหภูมิ การระบายความร้อนของของเหลวอิ่มตัวนี้จะเรียกว่าย่อยระบายความร้อน ในตัวอย่างนี้สารทำความเย็นที่ได้ไปผ่าน 25 ° F ย่อยและการระบายความร้อนส่งผลให้อุณหภูมิย่อยระบายความร้อน 115 ° F
โพสต์ภาพ
คำถามที่พบบ่อยคือการกำหนดความร้อนขับไล่ออกจากคอนเดนเซอร์ซึ่งจะแสดงในรูปที่ดังกล่าวข้างต้นเป็นความแตกต่างระหว่างสภาพคอนเดนเซอร์เข้า (H2) และสภาพออกจากที่ (H4) สมการเพื่อตรวจสอบผลคอนเดนเซอร์สุทธิที่แสดงด้านล่าง นี้สมการหลายอัตราการไหลของเครื่องทำความเย็นจากการเปลี่ยนแปลงเอนทัลระหว่างทางเข้าและทางออกของคอนเดนเซอร์
โพสต์ภาพ
แกน XY แผนภาพค่า PH เป็นเส้นความดันวิ่งจากซ้ายไปขวา เส้นเอนทัลมีเส้นแนวตั้ง กราฟโครงกระดูกที่แสดงด้านล่างแสดงให้เห็นเส้นความดัน enthalpy
โพสต์ภาพ

ขั้นที่ 4: ต่อขยายอุปกรณ์

อุปกรณ์การขยายตัวเป็นคู่ของคอมเพรสเซอร์ ในทำนองเดียวกันอุปกรณ์การขยายตัวที่โดดเด่นด้วยดูดและการปล่อยแรงกดดัน เส้นแนวนอนจะวาดอีกครั้งในแผนภาพความดันเอนทัลปีของสารทำความเย็น เงื่อนไขการป้อนข้อมูลของอุปกรณ์การขยายตัวจะถูกกำหนดโดยเงื่อนไขการส่งออกคอนเดนเซอร์
มีสองเงื่อนไขเข้ากับอุปกรณ์การขยายตัวที่แสดงบนแผนภาพต่อไปนี้ สถานการณ์แรกมี 0 ° F ย่อยระบายความร้อน [D ''] และสถานการณ์ที่สองมี 15 ° F ย่อยระบายความร้อน [D '' ']
อุปกรณ์การขยายตัวขยายแรงดันสูง adiabatically ก๊าซสารทำความเย็นกับแรงดันต่ำของเหลวไอผสมสารทำความเย็น การขยายตัว Adiabatic แสดงให้เห็นว่ามีการเปลี่ยนแปลงในเอนทัลปีไม่มีและโดดเด่นด้วยเส้นแนวตั้งลงดังแสดงในกราฟด้านล่าง
หมายเหตุเกี่ยวกับกราฟด้านล่างเป็นย้ายสารทำความเย็นจากจุด D เพื่อจุดย้ายสารทำความเย็นจากของเหลวของกราฟกับไอของเหลวภูมิภาคส่วนผสมปริมาณของก๊าซที่เกิดขึ้นในระหว่างการขยายตัวนี้จะเรียกว่าก๊าซแฟลช
โพสต์ภาพhttp://kritsada0.blogspot.com/

ชนิดสารทำความเย็น

ชนิดต่างๆ ของสารทำความเย็น (น้ำยาแอร์ ) 
 R-134a  (tetrafluoroethane – CF3CH2F)  เป็นสารทำความเย็นกลุ่มอีเทน  ซึ่งโมเลกุลของอีเทนประกอบด้วยคาร์บอน  2  อะตอม  และไฮโดรเจน  6  อะตอม  เมื่อเปลี่ยนไฮโดรเจนด้วยฟลูโอรีนจำนวน  4  อะตอมจะได้เป็น  R-134a ราคา จะสูงกว่า  ซึ่งเป็นสาร  HFC  เป็นสารทำความเย็นที่ถูกพัฒนามาใช้แทนสาร  CFC
 R-717  (ammonia – NH3)  เป็นสารทำความเย็นชนิดเดียวที่ไม่อยู่ในกลุ่มฟลูออโรคาร์บอน  แต่นิยมใช้แพร่หลาย  มีจุดเดือด  -28°F  (-33.3°C)  ที่ความดันบรรยากาศ  แอมโมเนียจัดเป็นสารพิษ  และมีความสามารถติดไฟได้  มีระดับความปลอดภัย  B2  แอมโมเนียมีความสามารถในการทำความเย็น  (refrigerating effect)  สูงจึงนิยมใช้กับระบบทำความเย็นขนาดใหญ่  แอมโมเนียเมื่อรวมตัวกับน้ำหรือความชื้นจะกัดกร่อนโลหะที่ไม่ใช่เหล็ก  (nonferrous metals)  เช่น  ทองเหลือง  ทองแดง  แอมโมเนียไม่รวมตัวกับน้ำมันหล่อลื่น  ในกรณีที่เกิดการรั่วจึงไม่มีผลต่อระดับของน้ำมันหล่อลื่นในคอมเพรสเซอร์
 R-11  (CCI3F)  เป็นสารทำความเย็นกลุ่มฟลูออโรคาร์บอน  มีจุดเดือด  74.7°‑F  (23.7°C)  ที่ความดันบรรยากาศ  สามารถทำงานได้ที่ความดันต่ำมากคือความดันด้านต่ำจะต่ำกว่าความดันบรรยากาศ  เมื่อเกิดการรั่วในระบบจะทำให้ความดันในระบบสูงขึ้นเนื่องจากมีอากาศเข้าไปในระบบ  นิยมใช้กับระบบปรับอากาศขนาดใหญ่ที่ใช้คอมเพรสเซอร์แบบแรงเหวี่ยงหนศูนย์กลาง  ใช้เป็นสารสำหรับล้างระบบเมื่อคอมเพรสเซอร์ไหม้  ไม่กัดกร่อนโลหะ  ไม่เป็นพิษ  และไม่ติดไฟ  มีระดับความปลอดภัย  A1

                R-12  (CCI2F2)  เป็นสารทำความเย็นที่นิยมใช้กันมากที่สุด  ผลิตขึ้นเพื่อจำหน่ายโดยบริษัทดูปองก์ตั้งแต่ปี  พ.ศ. 2473  (ค.ศ. 1930)  เนื่องจากเป็นสารที่มีความปลอดภัย  ไม่ติดไฟ  มีระดับความปลอดภัย  A1  แต่ห้ามสารทำความเย็น  R-12  สัมผัสกับเปลวไฟ  เพราะจะกลายเป็นสารพิษได้  มีจุดเดือด  -21.6°F  (-29.8°C)  ที่ความดันบรรยากาศ  ใช้งานได้ทั้งระบบที่มีอุณหภูมิสูง  ปานกลาง  และต่ำ  R-12  รวมตัวกับน้ำมันหล่อลื่น(lube oilได้ดีในทุกสภาวะ  ทำให้ไม่มีปัญหาในเรื่องน้ำมันหล่อลื่นค้างในระบบ  สารทำความเย็นน้ำยาแอร์ สามารถพาน้ำมันหล่อลื่น(lube oilกลับคอมเพรสเซอร์ได้ดี  โดยเฉพาะจะไม่มีฟิล์มน้ำมันจับเคลือบที่ผิวท่อ  ทำให้ประสิทธิภาพในการถ่ายเทความร้อนดี  R-12  มีอัตราการทำความเย็นต่ำจึงมีขนาดของอุปกรณ์ใหญ่กว่า  แต่มีข้อดีคือทำงานได้ที่ความดันต่ำ  นิยมใช้ทั่วไป  เช่น  ตู้เย็น  ตู้แช่  เครื่องปรับอากาศรถยนต์   เป็นต้น
 R-22  (CHCIF2)  เป็นสารกลุ่มฟลูออโรคาร์บอน  มีค่าความปลอดภัยระดับ  A1  มีจุดเดือด  -41.4°  (-40.8°C)  ที่ความดันบรรยากาศ  เมื่อเทียบกับ  R-12  แล้ว  R-22  จะทำงานทีความดันสูงกว่า  แต่ใช้คอมเพรสเซอร์มีขนาดเล็กกว่าเพราะมีปริมาตรจำเพาะน้อยกว่า  R-22  สามารถรวมกับน้ำมันหล่อลื่น(lube oilได้  แต่จะแยกตัวออกอุณหภูมิต่ำเมื่ออยู่ในเครื่องระเหย  ใช้กับเครื่องทำความเย็น  เครื่องปรับอากาศทั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่ทั่วไปยี่ห้อชั้นนำทั่วไป เช่น แอร์ Mitsubishiแอร์ Panasonic แอร์ Samsung, แอร์ daikinแอร์ LGแอร์ Saijo Denki
 R-134s  (CF3CH2F)  เป็นสารกลุ่มฟลูออโรคาร์บอน  มีค่าความปลอดภัยระดับ  A1  มีจุดเดือด  -15° (-26.2°C)  ที่ความดันบรรยากาศ  เป็นสารทำความเย็นที่ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อใช้แทน  R-12  ซึ่งได้ถูกยกเลิกตามข้อบังคับของพิธีสารมอนทรีออล  R-134a  มีคุณสมบัติในการรวมตัวกับน้ำได้ดี  (water solubility)  โอกาสที่จะเกิดน้ำแยกตัวออกจากสารทำความเย็นไปเป็นน้ำแข็งอุดตันลิ้นลดความดันได้  และเนื่องจากไม่สามารถ
โดยยังมี น้ำยาแอร์ อีกหลากหลายชนิด ซึ่งปัจจุบันแนวโน้มการพัฒนามุ่งเน้นการประหยัดพลังงาน และ เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น