วันจันทร์ที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2559

ชนิดสารทำความเย็น

ชนิดต่างๆ ของสารทำความเย็น (น้ำยาแอร์ ) 
 R-134a  (tetrafluoroethane – CF3CH2F)  เป็นสารทำความเย็นกลุ่มอีเทน  ซึ่งโมเลกุลของอีเทนประกอบด้วยคาร์บอน  2  อะตอม  และไฮโดรเจน  6  อะตอม  เมื่อเปลี่ยนไฮโดรเจนด้วยฟลูโอรีนจำนวน  4  อะตอมจะได้เป็น  R-134a ราคา จะสูงกว่า  ซึ่งเป็นสาร  HFC  เป็นสารทำความเย็นที่ถูกพัฒนามาใช้แทนสาร  CFC
 R-717  (ammonia – NH3)  เป็นสารทำความเย็นชนิดเดียวที่ไม่อยู่ในกลุ่มฟลูออโรคาร์บอน  แต่นิยมใช้แพร่หลาย  มีจุดเดือด  -28°F  (-33.3°C)  ที่ความดันบรรยากาศ  แอมโมเนียจัดเป็นสารพิษ  และมีความสามารถติดไฟได้  มีระดับความปลอดภัย  B2  แอมโมเนียมีความสามารถในการทำความเย็น  (refrigerating effect)  สูงจึงนิยมใช้กับระบบทำความเย็นขนาดใหญ่  แอมโมเนียเมื่อรวมตัวกับน้ำหรือความชื้นจะกัดกร่อนโลหะที่ไม่ใช่เหล็ก  (nonferrous metals)  เช่น  ทองเหลือง  ทองแดง  แอมโมเนียไม่รวมตัวกับน้ำมันหล่อลื่น  ในกรณีที่เกิดการรั่วจึงไม่มีผลต่อระดับของน้ำมันหล่อลื่นในคอมเพรสเซอร์
 R-11  (CCI3F)  เป็นสารทำความเย็นกลุ่มฟลูออโรคาร์บอน  มีจุดเดือด  74.7°‑F  (23.7°C)  ที่ความดันบรรยากาศ  สามารถทำงานได้ที่ความดันต่ำมากคือความดันด้านต่ำจะต่ำกว่าความดันบรรยากาศ  เมื่อเกิดการรั่วในระบบจะทำให้ความดันในระบบสูงขึ้นเนื่องจากมีอากาศเข้าไปในระบบ  นิยมใช้กับระบบปรับอากาศขนาดใหญ่ที่ใช้คอมเพรสเซอร์แบบแรงเหวี่ยงหนศูนย์กลาง  ใช้เป็นสารสำหรับล้างระบบเมื่อคอมเพรสเซอร์ไหม้  ไม่กัดกร่อนโลหะ  ไม่เป็นพิษ  และไม่ติดไฟ  มีระดับความปลอดภัย  A1

                R-12  (CCI2F2)  เป็นสารทำความเย็นที่นิยมใช้กันมากที่สุด  ผลิตขึ้นเพื่อจำหน่ายโดยบริษัทดูปองก์ตั้งแต่ปี  พ.ศ. 2473  (ค.ศ. 1930)  เนื่องจากเป็นสารที่มีความปลอดภัย  ไม่ติดไฟ  มีระดับความปลอดภัย  A1  แต่ห้ามสารทำความเย็น  R-12  สัมผัสกับเปลวไฟ  เพราะจะกลายเป็นสารพิษได้  มีจุดเดือด  -21.6°F  (-29.8°C)  ที่ความดันบรรยากาศ  ใช้งานได้ทั้งระบบที่มีอุณหภูมิสูง  ปานกลาง  และต่ำ  R-12  รวมตัวกับน้ำมันหล่อลื่น(lube oilได้ดีในทุกสภาวะ  ทำให้ไม่มีปัญหาในเรื่องน้ำมันหล่อลื่นค้างในระบบ  สารทำความเย็นน้ำยาแอร์ สามารถพาน้ำมันหล่อลื่น(lube oilกลับคอมเพรสเซอร์ได้ดี  โดยเฉพาะจะไม่มีฟิล์มน้ำมันจับเคลือบที่ผิวท่อ  ทำให้ประสิทธิภาพในการถ่ายเทความร้อนดี  R-12  มีอัตราการทำความเย็นต่ำจึงมีขนาดของอุปกรณ์ใหญ่กว่า  แต่มีข้อดีคือทำงานได้ที่ความดันต่ำ  นิยมใช้ทั่วไป  เช่น  ตู้เย็น  ตู้แช่  เครื่องปรับอากาศรถยนต์   เป็นต้น
 R-22  (CHCIF2)  เป็นสารกลุ่มฟลูออโรคาร์บอน  มีค่าความปลอดภัยระดับ  A1  มีจุดเดือด  -41.4°  (-40.8°C)  ที่ความดันบรรยากาศ  เมื่อเทียบกับ  R-12  แล้ว  R-22  จะทำงานทีความดันสูงกว่า  แต่ใช้คอมเพรสเซอร์มีขนาดเล็กกว่าเพราะมีปริมาตรจำเพาะน้อยกว่า  R-22  สามารถรวมกับน้ำมันหล่อลื่น(lube oilได้  แต่จะแยกตัวออกอุณหภูมิต่ำเมื่ออยู่ในเครื่องระเหย  ใช้กับเครื่องทำความเย็น  เครื่องปรับอากาศทั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่ทั่วไปยี่ห้อชั้นนำทั่วไป เช่น แอร์ Mitsubishiแอร์ Panasonic แอร์ Samsung, แอร์ daikinแอร์ LGแอร์ Saijo Denki
 R-134s  (CF3CH2F)  เป็นสารกลุ่มฟลูออโรคาร์บอน  มีค่าความปลอดภัยระดับ  A1  มีจุดเดือด  -15° (-26.2°C)  ที่ความดันบรรยากาศ  เป็นสารทำความเย็นที่ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อใช้แทน  R-12  ซึ่งได้ถูกยกเลิกตามข้อบังคับของพิธีสารมอนทรีออล  R-134a  มีคุณสมบัติในการรวมตัวกับน้ำได้ดี  (water solubility)  โอกาสที่จะเกิดน้ำแยกตัวออกจากสารทำความเย็นไปเป็นน้ำแข็งอุดตันลิ้นลดความดันได้  และเนื่องจากไม่สามารถ
โดยยังมี น้ำยาแอร์ อีกหลากหลายชนิด ซึ่งปัจจุบันแนวโน้มการพัฒนามุ่งเน้นการประหยัดพลังงาน และ เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น